โรคพยาธิปากขอ

โรคพยาธิปากขอ

ลักษณะของพยาธิ มีลำตัวทรงกระบอก หัวและท้ายแหลม ขณะมีชีวิตอยู่จะมีตัวสีขาวอมเทาหรือชมพูอมแดง ตัวแก่ยาวประมาณ1เซนติเมตร ขนาดใกล้เคียงกับเส้นด้ายหรือเข็มหมุด อาศัยอยู่บริเวณลำไส้เล็ก โดยใช้เขี้ยวเกาะที่ผนังลำไส้

วงจรชีวิตและการติดต่อ เมื่ออยู่ในร่างกายนาน5สัปดาห์ กจะเจริญเต็มที่ เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ6,000-20,000ฟองต่อวัน วางไข่ได้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ในร่างกาย ไข่ของพยาธิปากขอจะปนมากับอุจจาระของผู้ป่วยด้วย ถ้าผ้ป่วยถ่ายตามพื้นดิน ประมาณ1-2วันจะมีตัวอ่อนฟักออกจากไข่ ผ่านไปประมาณ2-3สัปดาห์ ตัวอ่อนจะโตเต็มที่ ระยะนี้จะปิดปากไม่กินอะไร คอยที่จะไชเข้าสู่ร่างกายคนตามผิวหนังอ่อนๆเช่น ง่ามนิ้วมือ ง่ามนิ้วเท้า ผิวหนังบริเวณก้น จากนั้นจะไชเข้าสู่กระแสเลือดดำ แล้วไหลไปตามกระแสเลือดจนถึงหัวใจและปอด เมื่อถึงปอดก็จะไชเข้าถุงลมปอดแล้วเจริญเตบโต จากนั้นกคลานไปตามหลอดลมสู่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก แล้วใช้เขี้ยวกัดเกาะติดกับผนังลำไส้เล็ก เจริญเติบโตต่อไป และสามารถอยู่ในลำไส้ได้ประมาณ6ป

อาการ ถ้ามีพยาธิปากขอในร่างกายจำนวนน้อย จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีเป็นจำนวนมาก จะทำให้สูญเสียเลือดมาก อ่อนเพลีย สติปัญญาเสื่อม เกิดอาการคันบริเวณที่ถูกตัวอ่อนไช เมื่อเกาจะเป็นแผล ระหว่างที่ตัวอ่อนอยู่ในปอดและไชทะลุถุงลม ผ้ป่วยจะมีอากรคล้ายปอดบวมอยู่ระยะหนึ่ง

การรักษา ทานยาถ่ายพยาธิปากขอตามคำแนะนำขแงแพทย์

การป้องกัน

1. ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

2. สวมรองเท้าขณะถ่ายอุจจาระหรือเดินบนพื้นดิน เพื่อป้องกันตัวอ่อนไชเข้าบริเวณง่ามเท้า

โรคพยาธิเส้นด้าย

พยาธิเส้นด้าย

โรคพยาธิเส้นด้าย

ลักษณะของพยาธิ เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็กที่มีรูปรางคล้ายด้ายหรือเข็มหมุด ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้เกือบเท่าตัว ตัวแก่ตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ1เซนติเมตร อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่กับไส้ติ่ง

วงจรชีวิตและการติดต่อ เมื่อพยาธิเส้นด้ายตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผ้แล้ว จะคลานจากลำไส้ใหญ่ไปออกไข่ที่รอบๆปากทวารหนัก เมื่อออกไข่ประมาณ 10,000-15,000ฟองแล้วก็จะตายไปเพราะถูกอากาศแห้งภายนอก ไข่จะฟักตัวรอบๆปากทวารหนักภายใน2-3ชั่วโมง ไข่จะมีตัวหนอนขดอยู่ภายในกลายเป็นไข่ระยะติดต่อ ถ้าคนรับประทานไข่พยาธิในระยะนี้เข้าไป ตัวอ่อนจะออกจากไข่แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ และผสมพันธุ์กันที่ลำไส้ใหญ่ต่อภายใน2-3สัปดาห์ จะมีชีวิตอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ2เดือน

สาเหตุ มีไข่พยาธิระยะติดต่อติดอยู่ที่มือ และไข่พยาธิอาจหลุดมาติดที่เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่างๆ และเข้าสู่ปากคน

อาการ เกิดความรำคาญขณะที่พยาธิออกมาวางไข่ที่ปากทวารหนัก สำหรับผู้หญิง ตัวพยาธิอาจกลับเข้าทางช่องคลอด ทำให้ปากมดลูกอักเสบ

การรักษา ทานยาขับพยาธิไส้เดือนกลมขององค์การเภสัชกรรม

การป้องกัน

ตัดเล็บให้สั้น ล้างมืออยู่เสมอให้สะอาด ทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มและหมั่นนำไปผึ่งแดด กวาดเช็ดถูพื้นบ้านเสมอ

พยาธิใส้เดือน

พยาธิใส้เดือน

พยาธิไส้เดือน

ลักษณะของพยาธิ มีรูปร่างทรงกระบอก หัวและท้ายแหลม ขณะมีชีวิตอยู่จะมีสีขาวนวลหรือชมพูเรื่อๆ เป็นพยาธิตัวกลมที่ใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก ตัวแก่จะมีขนาดโตขนาดประมาณหลอดกาแฟ ยาวประมาณ 25 เซนติเมตรพยาธินี้ชอบอาศัยในช่องว่างของลำไส้เล็ก ไม่เกาะติดผนังลำไส้เล็ก คอยแย่งอาหารที่ย่อยจากลำไส้เล็กแล้ว

วงจรชีวิตและการติดต่อ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะผสมพันธุ์กัน ตัวเมียออกไข่ครั้งละประมาณ2แสนฟองต่อวันไข่มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีลักษณะเป็นผิวขรุขระคล้ายผลน้อยหน่า ไข่จะปนออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย

สาเหตุ กินผัก อาหารหรือน้ำดื่มที่มีไข่พยาธิปนมาด้วย เมื่อไข่พยาธิถูกกลืนเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กแล้ว ตัวอ่อนที่อยู่ในไข่จะออกมาและไชทะลุผนังลำไส้านกระแสเลือดไปยังตับและหัวใจและปอด แล้วไชทะลุถุงลมปอดเข้าไปฟักและเจริญเติบโต จากนั้นก็จะคลานไปตามหลอดลม จนถึงลิ้นไก่บริเวณหลอดอาหารก็จะถูกกลืนลงกระเพาะอาหารแล้วเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้เล็กต่อไป

อาการ มักไม่แสดงอาการชัดเจน แต่ร่างกายจะถูกพยาธิแย่งสารอาหารไป เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยมีสติปัญญาเสื่อม ร่างกายอ่อนแอไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ผอมแห้ง หัวโต พุงโร ก้นปอด ถ้าพยาธิไชเข้าปอด จะทำให้ปอดอักเสบ ไข้สูง และไอ

การรักษา ปรึกษาแพทย์ การรับประทานยาถ่ายพยาธิไส้เดือนต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันพยาธิไส้เดือนไชทะลุลำไส้ ยาถ่ายพยาธิไส้เดือนที่ใช้ได้ผลคือ "ปิบเปอราซีนไซเตรท"ขององค์การเภสัชกรรม

การป้องกัน

circle07_blue_2.gifใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

circle07_blue_2.gifรักษาความสะอาของร่างกายก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องส้วม

circle07_blue_2.gifอย่าให้เด็กอมนิ้วหรือสิ่งของต่างๆ

circle07_blue_2.gifดื่มน้ำสุก และล้างผักผลไม้ก่อนรับประทาน

การย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร

ระบบการย่อยอาหาร

อาหารทุกชนิดที่เรากิน จะผ่านระบบทางเดินอาหารซึ่งประกอบด้วย ปาก ลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่

aniyellow08_rightdown.gifการย่อย ต้องอาศัยสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นตัวช่วย ดังนี้

anibook_blue.gifฮอร์โมน ซึ่งเป็นสารน้ำ ประกอบด้วยโปรตีน เมื่อเซลล์ที่เยื่อบุกระเพาะและลำไส้ถูกกระตุ้น จะหลั่งฮอร์โมนในระบบไหลเวียน

anibook_blue.gifเอนไซม์ คือโปรตีน เป็นน้ำย่อยที่เมื่อย่อยอาหารแล้ว ตัวมันเองจะไม่เปลี่ยนแปลง เอนไซม์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะ เช่น เอนไซม์อะไมเลสในน้ำลายในปากของคน จะย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลเท่านั้น และ เอนไซม์ไลเปส จะช่วยย่อยไขมันเท่านั้น

anibook_blue.gifกรดเกลือ มีอยู่ในกระเพาะอาหาร

anibook_blue.gifน้ำดี ตับเป็นผู้สร้างขึ้นแล้วเก็บไว้ในถุงน้ำดี

anibook_blue.gifการบีบตัวของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร

aniyellow08_rightdown.gifอวัยวะต่างๆที่ใช้ในการย่อยมีดังนี้

aniapple_red.gifปากและหลอดอาหาร ในปากจะมีฟันซึ่งทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ต่อมน้ำลายจะขับน้ำลายให้มาคลุกเคล้ากับอาหาร ในน้ำลายมีมิวซิน ทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นอาหาร เอนไซม์ไทอะลินจะมีหน้าที่ย่อยแป้งในอาหาร

aniapple_red.gifกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารถูกกลืนผ่านหลอดอาหารมาที่กระเพาะอาหาร ในตอนนี้กรดเกลือจะฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร ในกระเพาะอาหารจะทำการย่อยโปรตีน

aniapple_red.gifลำไส้เล็ก อาหารจากกระเพาะอาหารเมื่อย่อยแล้งเคลื่อนลงมาถึงลำไส้เล็กแล้ว ไขมันจะถูกน้ำดีย่อยให้แตกตัวออก และจะมีน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลโมเลกุลต่างๆด้วย

aniyellow08_rightdown.gifการดูดซึมของอาหาร

anicandy_red.gifการดูดซึมน้ำ ส่วนมากน้ำจะถูกดูดซึมในลำไส้เล็ก

anicandy_red.gifการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต จะถูกย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ซึ่งก็คือ กลูโคส ในการดูดซึมกลูโคสต้องอาศัยโซเดียมเป็นตัวช่วย จะ เก็บในรูปของไกลโคเจน

anicandy_red.gifการดูดซึมโปรตีน จะถูกย่อยให้เป็นกรดอะมิโน แล้วจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนทางเส้นเลือดฝอย

anicandy_red.gifการดูดซึมไขมัน จะถูกย่อยผ่านผนังลำไส้ไปยังเส้นเลือดฝอยหรือต่อมน้ำเหลือง การย่อยไขมัน จะต้องไปจับตัวกับโปรตีนก่อน

anicandy_red.gifการดูดซึมเกลือแร่ ต้องอาศัยสารอื่นๆมาเป็นตัวช่วย เช่นการดูดซึมของแคลเซียมต้องอาศัยวิตามินดี

anicandy_red.gifการดูดซึมวิตามิน วิตามินประเภทละลายน้ำ จะดูดซึมโดยวิธีทั่วไป แต่วิตามินบี12 ต้องใช้สาร Intrinsic Factor จากกระเพาะอาหาร และวิตามินประเภทละลายในไขมันจะต้องอาศัย ไมเซลผสม จากน้ำดี

aniyellow08_rightdown.gifการขับถ่าย

อาหารที่ย่อยไม่ได้ เช่น แร่ต่างๆ ผนังเซลล์ของพืช ฯลฯ จะถูกลำไส้เล็กบีบตัวเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ น้ำและเกลือแร่ที่ติดมาจะถูกดูดซึมกลับไป กากอาหารจึงเปลี่ยนจากสภาพของเหลวเป็นค่อนข้างแข็ง กากอาหารรวมทั้งแบคทีเรียในลำไส้ เมือก เอนไซม์ และเซลล์ของผนังลำไส้ที่ตายและหลุดออกมา จะรวมตัวเข้าเป็นอุจจาระ