พยาธิตัวตืดหรือพยาธิตัวแบน

พยาธิตัวตืดหรือพยาธิตัวแบน

ลักษณะของพยาธิ มีลักษณะแบนและยาวมองดูคล้ายบะหมี่ขดตัวไปมา บางตัวอาจยาวถึง4-6เมตร มีส่วนกว่างที่สุดประมาณ1.2เซนติเมตร ส่วนหัวมีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด และมีเบ้าคล้ายเบ้าขนมครก4อันสำหรับไว้ยึดเกาะติดกับผนังลำไส้ ลำตัวจะแบ่งออกเป็นปล้องๆ ส่วนคอของพยาธิมีลักษณะเรียว สามารถงอกและแบ่งตัวเป็นปล้องใหม่ได้เรื่อยๆ เพื่อชดเชยปล้องตอนท้ายที่ต้องหลุดไป เมื่อแก่ปล้องทุกปล้องจะดดกินอาหารจากลำไส้เล็กได้ และสามารถสืบพันธุ์ได้

วงจรชีวิตและการติดต่อ ปล้องทุกปล้องจะมีอวัยวะเพศทั้ง2เพศ เมื่อเป็นตัวแก่จะผสมพันธุ์กันที่ปล้อง และจะออกไข่เก็บสะสมในปล้อง เมื่อปล้องแก่จัดจะหลุดออกมานอกร่างกายพร้อมกับอุจจาระ ถ้าผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงพื้นดินหรือตามหญ้า ปล้องนั้นสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้นาน เมื่อวัวหรือหมูมากินหญ้าหรืออาหาร ก็จะกินปล้องพยาธิที่ติดอยู่ไปด้วย ตัวอ่อนของพยาธิจชอนไชเข้าสู่ผิวหนังและหลอดเลือด แล้วตัวอ่อนจะไหลไปตามหลอดเลือดไปอาศัยตามกล้ามเนื้ต่างๆ และเจริญติบโตต่อไปที่กล้ามเนื้อ เมื่อถึงระยะหนึ่งพยาธิก็จะสร้างฝักหุ้มตัวเองไว้เปนระยะติดต่อ โดยจะมีลักษณะเป็นเม็ดขุ่นขาวที่เรียกว่า"เม็ดสาคู" ถ้าหากคนนำเนื้อที่มีเม็ดสาคูมาประกอบอาหารโดยไม่ทำให้สุก เม็ดสาคูนั้นจะตกไปที่ลำไส้ ตัวอ่อนก็จะออกจากฝัก แล้วใช้ส่วนหัวดูดยึดเกาะผนังลำไส้ ล้วเจริญต่อตัวเป็นปล้องๆยาวขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นตัวแก่

อาการ

circle03_orange_3.gif บางครั้งพยาธิจะคลานออกมาทางทวารหนักในขณะที่ไม่รู้ตัว ทำให้อับอายได้

circle03_orange_3.gif พยาธิชนิดนี้จะแย่งอาหารโดยเฉพาคาร์โบไฮเดรต ทำให้ผู้ป่วยหิวง่าย

circle03_orange_3.gif ทำให้เกิดลำไส้อาการทางประสาท นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ ปวดท้อง

circle03_orange_3.gif ถ้าตัวอ่อนติดอยู่ตามกล้ามเนื้อสมอง ตับ หัวใจ หรือนัยน์ตา ทำให้เกิดอาการต่างๆเช่น ลมบ้าหมู แลถ้าเป็นมากๆอาจตายได้

การรักษา ทานยาขับถายพยาธิตามคำแนะนำของแพทย์

การป้องกัน

circle03_skyblue_3.gif ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

circle03_skyblue_3.gif ก่อนซื้อเนื้อวัว เนื้อกระบือ หรือเนื้อหมู มาทาน ควรตรวจดูด้วยว่าเนื้อนั้นมีเม็ดสาคูหรือไม่

circle03_skyblue_3.gif รับประทานเนื้อวัว เนื้อกระบือ หรือเนื้อหมู ที่ผ่านการทำให้สุกแล้วเท่านั้น

พยาธิใบไม้ในตับ

พยาธิใบไม้ในตับ

ลักษณะของพยาธิ ตัวแก่จะมีลักษณะคล้ายใบกระถิน ลำตัวแบน กว้างประมาณ2มิลลิเมตร ยาวประมาณ7มิลลิเมตร หัวเรียวไปสุดที่ปากที่มีรูปร่างเหมือนถ้วยสำหรับดูดเกาะ มีสีเนื้อหรือน้ำตาล มีอวยวะเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน

วงจรชีวิตและการติดต่อ เมื่อตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดีภายในตับ จะออกไข่ปนกับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็ก และจะออกปะปนไปกับอุจจาระ ถ้าผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในน้ำ ไข่พยาธิจะถูกหอยน้ำจืดที่มีลักษณะคล้ายหอยขมกินเข้าไป ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเติบโตในตัวหอย ต่อมาจะไชทะลุตัวหอยออกมาว่ายอยู่ในน้ำ เมื่อพบปลาบางชนิด เช่น ปลาขาว ปลากระมัง ก็จะไชทะลุไปอาศัยในตัวปลา จนถึงระยะติดต่อจะสร้างถุงหุ้มตัวเองที่เรียกว่า"ซีสต์"ในเนื้อปลา ถ้าคนนำปลานั้นมาทานสุกๆดิบๆ ถุงหุ้มพยาธิระยะติดต่อจะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารละลาย ตัวพยาธิจะออกมาอยู่ในลำไส้เล็ก และหาทางเข้าไปในท่อน้ำดีที่ตับ แล้วเจริญเติบโตเป็นตัแก่ที่ออกไข่ได้ รวมแล้วมีวงโคจรประมาณ3เดือน

อาการ เมื่อรับประทานอาหารสุกๆดิบๆที่มีพยาธิใบไม้ในตับแล้ว ระยะติดต่อเข้าไปนานประมาณ1เดือนจะเริ่มแสดงอาการของโรคอกมามีความรุนแรงมากขึ้น รุนแรงหรือไม่รุนแรงขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิที่มีอยู่และระยะเวลาของการเจ็บป่วย ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีอาการในลักษณะดังนี้

1. อาการเล็กน้อย พบในผู้ป่วยที่มีพยาธิใบไม้ในตับน้อยกว่า1,000ใบต่ออุจจาระ1กรัม ผู้ป้วยจะท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดหลังรับประทานอาหารเป็นบางครั้ง

2. อาการปานกลาง พบในผู้ป่วยที่มีไข่พยาธิตั้งแต่1,000-3,000ใบในอุจจาระ1กรัม ผู้ป่วยจะแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยจะมีอาการหลังทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำ ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเหลววันละ3-4ครั้ง เบื่ออาหาร เจ็บท้องและชายโครงบริเวณตับ

3. อาการหนัก พบในผู้ป่วยที่มีไข่พยาธิเกิน3,000ใบในอุจจาระ1กรัม ผู้ป่วยจะซูบซีด เลือดจาง ตับโต หนังหน้าท้องบางจนมองเห็นเส้นเลือดดำชัด ท้องมานและบวมตามขา และถ้าพยาธิรบกวนท่อน้ำดีก็จะทำมให้เป็นโรคตับแข็ง ถ้าพยาธิไปอุดขวางท่อน้ำดีไว้ น้ำดีจะไหลลงสู่ลำไส้ไม่สะดวก ทำให้ย่อยอาหารประเภทไขมันไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะท้องอืดท้องเฟ้อ มีอาการดีซ่าน เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย

การรักษา ให้แพทย์ตรวจรักษา

การป้องกัน

1. ไม่ทานเนื้อปลาดิบ หรือสุกๆดิบๆ

2. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ถ่ายลงในน้ำหรือพื้นดิน

3. ถ้าสงสัยว่าจะมีพยาธิใบไม้ในตับ ให้แพทย์ตรวจอุจจาระ ถ้าพบก็ให้แพทย์ทำการรักษาต่อไป